หน้าเว็บ

ระบบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค

      แนวคิดของระบบไฮดรอลิคมหัศจรรย์มากๆ   โดยการใช้ของเหลวส่งถ่ายแรงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง   ของเหลวนั้นเป็นของเหลวที่อัดตัวไม่ได้  (Incompressible  fluid )   ส่วนใหญ่จะใช้น้ำมัน   รูปที่  2   แสดงระบบไฮดรอลิคแบบง่ายๆ



รูปที่ 2  ระบบไฮดรอลิค
กดที่ลูกศร  คุณจะได้เห็นภาพ    เคลื่อนไหวในระบบ
      ในรูปที่ 2   ลูกสูบ  2   อัน (สีแดง)   เลื่อนอยู่ภายในกระบอกสูบที่บรรจุน้ำมัน (สีน้ำเงิน)   กระบอกทั้งสองต่อกันด้วยท่อที่บรรจุน้ำมัน   ถ้าคุณใส่แรงกดกับลูกสูบซ้ายในรูปภาพ   แรงจะถูกส่งถ่ายไปที่ลูกสูบขวาโดยผ่านทางน้ำมันที่อยู่ภายในท่อ เพราะว่าน้ำมันไม่สามารถอัดตัวได้    ทำให้แรงทั้งหมดถูกส่งไป      ที่น่าทึ่งก็คือ ท่อที่เชื่อมระหว่างกระบอกสูบทั้งสอง ไม่จำเป็นจะต้องเป็นท่อตรง  สามารถโค้งงออย่างไรก็ได้    และกระบอกสูบตัวที่สองจะมีจำนวนกี่อันก็ได้  แรงจะถูกส่งถ่ายจากกระบอกสูบตัวแรก  ไปที่ยังกระบอกสูบทุกอัน  ด้วยแรงที่เท่ากันทุกกระบอกสูบ   ไม่ใช่น้อยลงตามจำนวนของกระบอกสูบ



รูปที่  3   แรง F ของลูกสูบหลัก  จะถูกส่งถ่ายไปให้ลูกสูบรอง  2  ตัวด้วยแรงที่เท่ากันทุกกระบอกสูบ  
กดที่ลูกศร  คุณจะได้เห็นภาพ    เคลื่อนไหวในระบบ
      ในระบบไฮดรอลิค  การเพิ่มแรงให้มากขึ้น  ทำได้ง่ายมาก   1.  เพิ่มจำนวนลูกสูบ  หรือ  2.  เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบรองให้ใหญ่ขึ้น  


รูปที่ 4  แรงจะเพิ่มขึ้น  9  เท่า
กดที่ลูกศร  คุณจะได้เห็นภาพ    เคลื่อนไหวในระบบ
        สมมติให้ลูกสูบทางซ้ายมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  2  นิ้ว  (5.08 cm)   ขณะที่ลูกสูบทางขวามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  6  นิ้ว  (15.24 cm)  พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบทั้งสองคำนวณได้จากสูตร  Pi x r2  ดังนั้นพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบซ้าย  =  3.14   ส่วนพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบขวา =  28.26     พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบขวาจะมากกว่าพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบซ้ายอยู่  9   เท่า  นั่นก็หมายความว่า   แรงที่เกิดจากลูกสูบทางขวาจะมากกว่าแรงที่เกิดจากทางซ้าย  9 เท่าด้วย    ถ้าคุณออกแรงกดขนาด  10  กิโลกรัม ทางลูกสูบซ้าย   จะเกิดแรงขนาด  90  กิโลกรัมบนลูกสูบขวา     หรือถ้าคุณกดลูกสูบทางซ้ายลง  9  ินิ้ว  (22.86 cm)   ลูกสูบทางขวาจะขึ้น  1   ินิ้ว (2.54 cm)  
      ป็มไฮดรอลิคที่ใช้สร้างความดันเพื่อเลื่อนลูกสูบ มีอยู่ 2  ชนิดคือ
  • ปั๊มแบบ ลูกสูบ  (Variable-diaplacement)
  • ปั๊มแบบเฟืองขบ
      เครนส่วนใหญ่ใช้ปั๊มลักษณะเป็นเฟืองเกียร์   อันขบและหมุนผลัก น้ำมันไฮดรอลิค  สามารถสร้างแรงดันให้กับน้ำมันได้  เมื่อต้องการเพิ่มแรงดัน  ผู้ควบคุมเพียงแต่เหยียบวาวล์ด้วยเท้า เพื่อให้ปั๊มหมุนได้เร็วขึ้น   เครื่องยนต์ก็ต้องใช้กำลังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
       ตัวอย่างเช่น รถเครนขนาด 10  ตัน   ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุ 12.7  ลิตร  ให้กำลัง  365  แรงม้า   หมุนปั๊มไฮดรอลิคที่มีอยู่หลายตัวแต่ละตัวมีหน้าที่แยกกันดังนี้
  1. ปั๊มหลัก   มีหน้าที่จ่ายน้ำมันให้กับกระบอกไฮดรอลิคตัวใหญ่  เพื่อเงยแขนบูม ขึ้นและลง     รวมทั้งการยืดเข้าออกของแขนบูม  ปั๊มหลักให้ความดันประมาณ  3,500  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  (Psi) มากที่สุดในจำนวนปั๊มทั้งหมด  เพราะต้องยกน้ำหนักด้วย
  2. ปั๊มของน้ำหนักถ่วง  รถเครนต้องมีน้ำหนักถ่วงอยู่ทางด้านหลัง   เพราะขณะที่เครนยกน้ำหนัก  ด้านหน้าของรถอาจคะมำได้  จึงต้องมีปั๊มเฉพาะสำหรับยกน้ำหนักถ่วง  ปั๊มตัวนี้ให้แรงดันประมาณ  1,400 Psi
  3. ปั๊มหมุนเฟืองเอว และ  ขายันพื้น (Outrigger)  มีหน้าที่สำหรับหมุนหัองควบคุม มีลักษณะเป็นเฟือง คล้ายกับเอวของคน จึงเรียกว่า เฟืองเอว    และอีกหน้าที่หนึ่งคือยันเพื่อยกรถทั้งคันขึ้น  เนื่องจากการหมุน  และการยัน  ไม่ได้ทำในเวลาเดียวกัน  จึงใช้ปั๊มตัวเดียวควบคุมได้   ปั๊มตัวนี้ให้แรงดัน  1600 Psi
      ในหน้าถัดไปเรามาดูส่วนประกอบของเครน


สระว่ายน้ำ |คลอรีน 90% | เดินสาย lan | ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ | it outsource | เช่ารถเครน | เช่ารถเครน | ให้เช่ารถเครน | รถเครนรับจ้าง