หน้าเว็บ

การคำนวนความสามารถในการรับน้ำหนักของรถเครนด้วย Load Chart

เมื่อพูดถึงเรื่องความสามารถในการยกของรถเครน ก่อนอื่นต้องบอกให้เข้าใจก่อนว่า รถเครน จะรับน้ำหนักได้ต่างกันในการทำงานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
- ระยะห่างระหว่างรถเครนกับวัตถุที่ยก ยิ่งระยะห่างกันมาก ความสามารถในการรับน้ำหนักของเครนก็จะลดลง
- ความยาวของแขนเครน ถ้าเครนยืดแขนออกมาก ความสามารถในการยกก็จะน้อยลง
- มุมระหว่างแขนเครนกับพื้นดิน ยิ่งมุมต่ำ ความสามารถในการยกก็จะน้อยลง (สอดคล้องกับเรื่องระยะห่างระหว่างแขนเครนกับของที่จะยก เพราะการนอนแขนเครนต่ำลงมา ก็เพื่อจะยกของที่ไกลออกไปนั่นเอง)
- การยืดขาเครน กรณีที่ยืดขาไม่สุด ความสามารถในการรับน้ำหนักก็ลดลง
เราจะคำนวนได้อย่างไร ว่าในแต่ละระยะห่างของการยก เครนจะยกของได้หนักเท่าไร
เราต้องดูจาก Load Chart (ตารางการรับน้ำหนักของรถเครน) ตารางนี้รถเครนทุกคันจะต้องมีติดอยู่ที่รถ ซึ่งเป็นตารางที่ออกโดยผู้ผลิด (ตารางของรถเครนต่างรุ่น หรือต่างยี่ห้อกัน ไม่สามารถใช้แทนกันได้ )
เพื่อให้เห็นวิธีการอ่านค่าจากตาราง load chart ขอนำตัวอย่างส่วนหนึ่งของ  load chart รถเครน ยี่ห้อ ทาดาโน รุ่น tr250m-5 มาให้ดู
crane load chart

จากตาราง load chart ข้างบน ผมยกมาแค่ส่วนหนึ่ง คือ กรณีที่เครนยืดขาสุด โดยปกติแล้ว ตารางคำนวนน้ำหนักนี้ จะแบ่งเป็นกรณีที่เครนยืดขาสุด ,กรณีที่ยืดขาออกมาบางส่วน ,กรณีที่ไม่ยืดขา เป็นต้น
ซึ่งเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ในโครงการก่อสร้างมักจะกำหนดกฏระเบียบให้เครนต้องกางขาออกมาให้สุดทุกครั้ง ถ้าจำเป็นที่จะต้องกางขาไม่สุด จะต้องทำการขออนุญาตก่อน
จากตาราง load chart ข้างบน ผมตัดมาให้ดูเฉพาะกรณีที่รถเครนยืดขาออกมาสุดทุกข้าง (ดูได้จากที่ผมทำกรอบสีเหลืองไว้ ตรงนั้นจะบอกให้ทราบ
- ที่ช่อง A(m) ที่ผมทำกรอบสีชมพูไว้ คือความยาวของแขนเครน (แขนเครน เรามักเรียกทับศัพท์กันว่า บูม) มีหน่วยเป็นเมตร ตัวเลข 9.5m ,16.5 , 23.5m และ 30.5M คือความยาวเมื่อยืดแขนเครนแต่ละท่อนออกมา
- ที่ช่อง B(m) ที่ผมทำกรอบสีน้ำเงินไว้ หรือระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของรถเครน ไปยังวัตถุที่ยก มีหน่วยเป็นเมตร
ดังนั้น ถ้าท่านอยากทราบว่าในกรณีที่เครนยืดขาออกมาสุด แล้วต้องการยกของที่ห่างจุดศูนย์กลางของรถเครน 5 เมตร ที่ความยาวบูม 16.5 เมตร จะยกของหนักได้เท่าไร เมื่อดูจากตารางจะทราบได้ทันทีว่า รับน้ำหนักได้ไม่เกิน  16.7 ตัน
ส่วนตารางฝั่งขวามือ คือ กรณีที่เคนทำการต่อจิ๊บ(Fly Jib Boom) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มความยาวของแขนเครน ใช้กรณีที่ต้องยกของที่ความสูงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผลเสียของการต่อจิ๊บก็จะทำให้ความสามารถในการยกลดลงมาก เช่นกัีน
- ช่อง C ความยาวของจิ๊บ จะมี 2 ขนาด คือ จิ๊บ ยาว 8 เมตร และ 13 เมตร
- ช่อง D คือ องศาของจิ๊บ กับแขนเครน (จิ๊บที่ต่อยาวจากแขนเครน จะไม่อยู่ในลักษณะยาวตรงดิ่งออกไปในระนาบเดียวกัน แต่จะทำมุม 5 องศา ,25 องศา หรือ 45 องศา
- ช่อง  E คือมุมของแขนเครนกับพื้น (อาจดูได้จากด้านข้างแขนเครน จะมีเข็มบอกมุมของแขนเครนว่าทำมุมเท่าไร)
ดังนั้น ถ้าเครนต่อจิ๊บยาว 8 เมตร โดยจิ๊บทำมุม 5 องศากับแขนเครน และแขนเครนทำมุม 70 องศากับพื้น เราจะทราบได้ทันทีว่า เครนสามารถรับน้ำหนักได้ที่  2.8 ตัน
ก็เป็นตัวอย่างในการอ่านค่าจากตาราง load chart คร่าวๆ ครับ
ปล. อย่าลืม ว่าปัจจัยในการรับน้ำหนักของรถเครนไม่ได้มีแค่ปัจจัยภายในเท่านั้น ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น สภาพพื้นดิน สภาพอากาศ(ลม) เป็นต้น

Credit : thaisafetywork.com

รถเครนให้เช่า | ขายรถเครน | รถเครนรับจ้าง | สระว่ายน้ำ | สร้างสระว่ายน้ำ
| เช่ารถเครน | ให้เช่ารถเครน | รถเครนรับจ้าง |